Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้าน 2 ชั้น ชุดที่ 1 แบบบ้าน 2 ชั้น ชุดที่ 2 แบบบ้าน 3 ชั้น แบบบ้านขายดี แนวคิดในการออกแบบ ข้อดีของแบบสำเร็จรูป เปรียบเทียบราคา สั่งซื้อแบบ
 Smile Estate
 โครงการอสังหาริมทรัพย์
  ทำเนียบรายชื่อก่อสร้าง
  ร้อยพันปัญหาก่อสร้าง
  กฏหมายควบคุมอาคาร
  แบบฟอร์มขออนุญาต 
  สัญญาการก่อสร้าง
  Free Download
  ราคาประเมินที่ดิน
  สินเชื่อที่อยู่อาศัย
Smile Services
บริการออกแบบสถาปัตยกรรม
Architecture
ออกแบบสถาปัตยกรรม
 Smile Home
 Smile Guides
 Smile Estate
 Smile Shops
 Smile life
 Smile Room
 Smile Societies
 Smile Services
 Smile Links
 Sitemap
 
 

กฎหมายควบคุมอาคาร

 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และ ทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร ( ต่อ )


ข้อ 4
    น้ำทิ้งจากอาคาร ที่จะระบาย จากอาคาร ลงสู่แหล่ง รองรับน้ำทิ้งได้ ต้องมีคุณภาพน้ำทิ้ง ตามประเภท ของอาคาร ตามมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง ดังต่อไปนี้

มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

อาคารประเภท

1. พีเอช

5-9

5-9

5-9

5-9

2. บีโอดี ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

20

30

60

90

3. ปริมาณสารแขวนลอย ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

30

40

50

60

4. ปริมาณสารละลายที่เพิ่มขึ้นจากน้ำใช้ ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

500

500

500

500

5. ปริมาณตะกอนหนัก ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

0.5

0.5

0.5

0.5

6. ทีเคเอ็น ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

-

-

40

40

7. ออร์แกนิก-ไนโตรเจน ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

10

10

15

15

8. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

-

-

25

25

9. น้ำมันและไขมัน ไม่เกิน
(มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เดซิเมตร)

20

20

20

20

10. ซัลไฟด์ ไม่เกิน

1.0

1.0

3.0

4.0


     "พีเอช" หมายความว่า ค่าของความเป็นกรด และ ด่าง ของน้ำ ที่เกิดจาก ค่าลบของล็อกฐานสิบ ของความเข้มข้น เป็นโมล ของอนุมูลไฮโดรเจน
     "บีโอดี" หมายความว่า ปริมาณออกซิเจน ที่แบคทีเรีย ใช้ใน การย่อยสารอินทรีย์ ชนิดที่ย่อยสลายได้ ภายใต้ภาวะ ของออกซิเจน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในเวลาห้าวัน ซึ่งใช้เป็น การตรวจวัด ระดับปริมาณสารอินทรีย์ ที่มีอยู่ ในตัวอย่างน้ำนั้น ๆ
     "ปริมาณสารแขวนลอย" หมายความว่า สารที่ตกค้าง บนแผ่นกรอง ในการกรองน้ำ ผ่านแผ่นกรอง ประเภท Glass fiber filter-disks เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 เซนติเมตร เช่น Whatman type GF/C หรือ Gelman type A
     "ปริมาณตะกอนหนัก" หมายความว่า สารที่แขวนลอย อยู่ในน้ำ ซึ่งสามารถ ตกตะกอนได้ โดยแรงโน้มถ่วง ของโลก ภายใต้ภาวะ ที่สงบนิ่ง ในเวลาหนึ่งชั่วโมง
     "ทีเคเอ็น" หมายความว่า ไนโตรเจน ที่อยู่ในรูปแอมโมเนีย และ ออร์แกนิก-ไนโตรเจน
     "ออร์แกนิก-ไนโตรเจน" หมายความว่า ไนโตรเจน ที่อยู่ใน สารประกอบอินทรีย์ ประเภทโปรตีน และ ผลิตผล จากการย่อยสลาย ของไขมัน เช่น โพลิเพปไทด์ และกรดอะมิโน เป็นต้น
     "แอมโมเนีย-ไนโตรเจน" หมายความว่า ไนโตรเจนทั้งหมด ที่อยู่ในรูป NH + sinv NH ซึ่งสมดุลกัน
     "น้ำมันและไขมัน" หมายความว่า สารอินทรีย์ จำนวนน้ำมัน ไขมัน ขี้ผึ้ง และ กรดไขมัน ที่มีน้ำหนัก โมเลกุลสูง โดยเป็น สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน และ เอสเตอร์ เป็นต้น สารเหล่านี้ จะถูกสกัดได้ ด้วยตัวทำลาย ประเภทเฮกเซนคลอโรฟอร์ม และไดเอทิลอีเทอร์ แล้วแยกส่วน โดยการระเหยแห้ง ที่อุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส
     "ซัลไฟด์" หมายความว่า สารประกอบ พวกไฮโดรเจนซัลไฟด์ ทั้งชนิด ที่ละลายน้ำ และ ชนิดที่เป็นอนุมูล รวมทั้ง สารประกอบ พวกโลหะซัลไฟด์ ที่ปนอยู่ กับตะกอนแขวนลอย ในน้ำด้วย
ข้อ 5
    ในกรณีที่ อาคารหลังเดียวกัน มีการใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการ ตามที่กำหนด ในข้อ 3 เกินกว่า หนึ่งประเภท และ แต่ละประเภท มีมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง แตกต่างกัน ให้คำนวณ คุณภาพน้ำทิ้ง จากอาคาร รวมกัน โดยใช้มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง ที่สูงที่สุด สำหรับ ประเภทของอาคาร ที่มี การใช้ประโยชน์นั้น
ข้อ 6
    การก่อสร้าง หรือ ดัดแปลงอาคาร ประเภท ก ประเภท ข และ ประเภท ค ตามที่กำหนด ในข้อ 3 ให้แสดงแบบ และ การคำนวณ รายการระบบบำบัดน้ำเสีย ที่สามารถ ดำเนินการ ปรับปรุงน้ำเสีย จากอาคาร ให้มีคุณภาพ เป็นน้ำทิ้ง ตามมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง ที่กำหนด ในข้อ 4
ข้อ 7
    การก่อสร้าง หรือ ดัดแปลง อาคารประเภท ง ตามที่กำหนด ในข้อ 3 และ อาคารพักอาศัย ประเภทบ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หรือ บ้านแฝด ให้แสดงแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยจะต้อง ประกอบด้วย
     (1) บ่อเกรอะ ซึ่งต้องมี ลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็น ที่แยกกาก ที่ปนอยู่ กับน้ำเสีย ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน และ
     (2) บ่อซึม ซึ่งต้องมีลักษณะ ที่สามารถ ใช้เป็นที่ รองรับน้ำเสีย ที่ผ่าน บ่อเกรอะแล้ว และ ให้น้ำเสียนั้น ผ่านอิฐ หรือ หิน หรือ สิ่งอื่นใด เพื่อให้เป็นน้ำทิ้ง
    บ่อเกรอะ และ บ่อซึม ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีขนาด ได้สัดส่วน ที่เหมาะสม กับการใช้ ของผู้ที่อยู่อาศัย ในอาคารนั้น
    ในกรณี ที่จะไม่ใช้ วิธีการ ตามวรรคหนึ่ง และ วรรคสอง อาจใช้วิธีอื่น ในการปรับปรุงน้ำเสีย ให้ได้มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง ตามที่กำหนดไว้ สำหรับอาคาร ประเภท ง ในข้อ 4 ก็ได้
ข้อ 8
    การกำจัดน้ำทิ้ง จากอาคาร จะดำเนินการ ระบายลงสู่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือ ระบายลงสู่พื้นดิน โดยใช้วิธี ผ่านบ่อซึม หรือ โดยวิธีอื่นใด ที่เหมาะสม กับสภาพ ของอาคารนั้น ก็ได้ แต่ต้อง ไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อน รำคาญ แก่ผู้อื่น หรือ กระทบกระเทือน ต่อการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ข้อ 9
    ในกรณี ที่อาคารใด จัดให้มี ทางระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำ จากอาคาร ลงสู่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง ทางระบายน้ำนั้น ต้องมีลักษณะ ที่สามารถ ตรวจสอบ และ ทำความสะอาด ได้โดยสะดวก และ ต้องวาง ตามแนวตรงที่สุด เท่าที่จะทำได้ โดยต้องมี ส่วนลาดเอียง ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 200 หรือ ต้องมีส่วนลาดเอียง เพียงพอให้น้ำทิ้ง ไหลเร็วไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตรต่อวินาที
    ขนาดของทางระบายน้ำ ต้องมีความสัมพันธ์ กับ ปริมาณน้ำทิ้ง ของอาคารนั้น โดยถ้าเป็น ทางระบายน้ำ แบบท่อปิด ต้องมี เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ไม่น้อยกว่า 10 เซนมิเมตร โดยต้องมี บ่อพัก สำหรับตรวจ การระบายน้ำ ทุกมุมเลี้ยว และ ทุกระยะ ไม่เกิน 12 เมตร หรือ ทุกระยะ ไม่เกิน 24 เมตร ถ้าทางระบายน้ำ แบบท่อปิดนั้น มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป ในกรณีที่เป็น ทางระบายน้ำแบบอื่น ต้องมีความกว้างภายใน ที่ขอบบนสุด ไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
ข้อ 10
    อาคาร ที่ใช้เป็นตลาด โรงแรม ภัตตาคาร หรือ สถานพยาบาล ต้องจัดให้มี ที่รองรับขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล โดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
     (1) ผนัง ต้องทำด้วย วัสดุถาวร และ ทนไฟ
     (2) พื้นผิวภายใน ต้องเรียบ และ กันน้ำซึม
     (3) ต้องมี การป้องกัน กลิ่นและน้ำฝน
     (4) ต้องมี การระบายน้ำเสีย จากขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล ลงสู่ ระบบบำบัดน้ำเสีย
     (5) ต้องมี การระบายอากาศ และ ป้องกันน้ำเข้า
     (6) ต้องมีความจุ ไม่น้อยกว่า 1.2 ลิตร ต่อพื้นที่ ของอาคาร หนึ่งตารางเมตร
     (7) ต้องจัดไว้ ในที่ ที่สามารถ ขนย้ายขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล ได้โดยสะดวก และ ต้องมีระยะห่าง จากสถานที่ ประกอบอาหาร และ สถานที่เก็บอาหาร ไม่น้อยกว่า 4 เมตร แต่ถ้า ที่รองรับขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล มีขนาดความจุ เกินกว่า 3 ลูกบาศก์เมตร ต้องมีระยะ ห่างจาก สถานที่ดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 10 เมตร

    ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2538
    พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

    หมายเหตุ
    เหตุผล ในการประกาศใช้ กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบัน มีการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ประโยชน์ ในการอยู่อาศัย และ ประกอบกิจการ ประเภทเดียวกัน หรือ หลายประเภทรวมกัน เพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนด ระบบการระบายน้ำ และ การกำจัดขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการควบคุม เกี่ยวกับ สาธารณสุข และ การรักษา คุณภาพ สิ่งแวดล้อม จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวงนี้
    ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 6ก วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 
 


ข้อกำหนดของบันไดหนีไฟ 1 - ข้อกำหนดของบันไดหนีไฟ 2


 

 

 

 

Top Page
ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Smilehomes.com : 320  Taksin Road  Thonburi  Bangkok 10600
Tel : 0-2890-4598   Fax : 0-2465-4560   Mobile : 01-408-4823

 

Copyright © 2000 Smilehomes.com : Wisdom Design - All Rights Reserved